วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ – วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 (จำนวน 2 วัน) เวลา 09:00 - 16:00 น. ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
ในโลกที่หัวใจของความเป็นไปต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่มีการเชื่อมต่อกันของข้อมูลข่าวสารที่มีมวลมหาศาลและอย่างรวดเร็วมาก ภาษาเป็นหัวใจในโลกของข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ ไม่ว่าจะใช้ภาษาในกิจการใด เช่น การศึกษาหาความรู้ การทำธุรกิจการค้า การเมืองการปกครอง ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ที่จะนำมาซึ่ง ความสำเร็จ ความสงบสุข ของสังคมในด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในการศึกษาของประเทศไทย เรายังให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาน้อยมาก การประเมินความสามารถต่าง ๆ ในระดับโลกนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ต้องอาศัยภาษาในการทำความเข้าใจกับคำถาม รวมทั้งการอธิบายที่มาของคำตอบ ความคิดและการให้คำอธิบายต้องอาศัยภาษาเป็นสำคัญ การเรียนการสอนภาษาให้สื่อสารความคิดได้ จึงมีรูปแบบที่ไม่ได้เน้นแต่เรื่องการสร้างรูปภาษาตามแนวดั้งเดิมเท่านั้น
การเรียนการสอนภาษาในศตวรรษที่ 21 จึงเน้นทั้ง การสื่อสาร (Communication) ความร่วมมือ (Collaboration) ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ การพัฒนาทางปัญญา (Critical Thinking and Cognitive Development) และ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) แนวทางการเรียนการสอนภาษาจึงเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเริ่มจากการคิดไปสู่ภาษา จากการถามไปสู่คำตอบที่หลากหลาย และการสร้างคำถามที่ดี ฝึกการสร้างความรู้และการสื่อสารความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ของการสื่อสาร การสอนแนวนี้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง
สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเรียนการสอนภาษาตามแนว Constructivism ขึ้น การอบรมนี้จะช่วยให้อาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจการเรียนการสอนภาษาตามแนวทางดังกล่าว รวมทั้งสามารถออกแบบการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งยังสามารถสอนและทำการวิจัยโดยนำระบบดิจิทัลที่ผู้เรียนคุ้นเคยมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย
วัตถุประสงค์
กิจกรรมการดำเนินงาน/แผนการดำเนินงาน
การบรรยาย การอภิปรายในการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย และการฝึกปฏิบัติ
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐสถาบัน อุดมศึกษาของเอกชนและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 60 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา PSF ในมิติ
องค์ประกอบที่ 1 : องค์ความรู้ (knowledge) มิติ 1.2 ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ ระดับ 1 วิธีการจัดการเรียนรู้และผลการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 : ค่านิยม (Values) มิติ 3.1 คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ระดับ 1 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตรเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 1 : องค์ความรู้ (knowledge) มิติ 1.2 ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ ระดับ 1 วิธีการจัดการเรียนรู้และผลการจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 3 : ค่านิยม (Values) มิติ 3.1 คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ระดับ 1 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตรเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
การติดตามประเมินผล
วิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ศุภฤทัย อิฐงาม มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.ศุภฤทัย อิฐงาม มหาวิทยาลัยบูรพา
หน่วยงานดำเนินการ
ค่าลงทะเบียน
สมาชิกสมาคม ควอท คนละ 3,500 บาท บุคคลทั่วไป คนละ 4,200 บาท *** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท คนละ 3,500 บาท
สมาชิกสมาคม ควอท คนละ 3,500 บาท บุคคลทั่วไป คนละ 4,200 บาท
*** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท คนละ 3,500 บาท
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.