วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 จำนวน 1 วัน เวลา 09:00-16:00 น.
ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
สถาบันอุดมศึกษาถือเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้และเป็นแหล่งสำคัญในการการผลิตบัณฑิตที่ดีเเละมีคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ กลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือในการผลิตบัณฑิตเหล่านี้คือการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่เป็น active learning ซึ่งหมายถึงการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (engagement) โดยการคิด การพูด การค้นหา หรือการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ active learning มีได้หลากหลาย Visual note-taking เป็นกระบวนการหนึ่งซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
Visual note-taking เป็นกระบวนการในการแสดงข้อมูลโดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ ซึ่งไม่ได้จำเป็นต้องเป็นรูปที่สวย แต่เป็นรูปที่สื่อความหมายสำคัญของข้อมูลได้ เป็นวิธีการที่มีประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้เพราะทำให้ผู้เรียนเกิดการ engage กลั่นกรอง และเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับเข้ามา เป็นวิธีการเรียรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย และเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่ผู้สอนจะดูว่าผู้เรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับเนื้อหาที่สอนหรือไม่ โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ visual note-taking จะทำโดยใช้หลักการของ Four Pillars of Learning ของ Stanislas Dehaene ซึ่งมีพื้นฐานมากจากประสาทวิทยา
สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สร้างสรรค์การสอนด้วยเทคนิค visual note-taking โดยใช้หลักการ Four Pillars of Learning เพื่อช่วยให้อาจารย์มีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีวิธีการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้พื้นฐานของหลักการทำงานของสมอง
วัตถุประสงค์
กิจกรรมการดำเนินงาน/แผนการดำเนินงาน
การบรรยาย การปฏิบัติ และกิจกรรมกลุ่มย่อย
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐสถาบัน อุดมศึกษาของเอกชน จำนวน 60 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา PSF ในมิติ
องค์ประกอบที่ 1 : องค์ความรู้ (knowledge) มิติ 1.2 ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ ระดับ 1 วิธีการจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 2 : สมรรถนะ (Competencies) มิติ 2.1 การออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับที่ 1 การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 3 : ค่านิยม (Values) มิติ 3.1 คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ระดับ 1 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
การติดตามและประเมินผล
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
วิทยากร
ดร.ศุภนิดา ภิยโยทัย (วิทยากรหลัก) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คุณไพฑูรย์ อนันต์ทเขต (วิทยากรหลัก) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คุณพลอยพชร เนกขัมพิทักษ์ (facilitator) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คุณเมตตา มงคลธีระเดช (facilitator) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คุณณัฐวุฒิ คุ้มทอง (facilitator) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หน่วยงานดำเนินการ
ค่าลงทะเบียน
สมาชิก ควอท คนละ 1,600 บาท
บุคคลทั่วไป คนละ 1,900 บาท
*** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท คนละ 1,600 บาท
วิธีการชำระเงิน
สามารถดำเนินการชำระโดยโอนเงินผ่านบัญชีของสมาคม ควอท
ชื่อบัญชี “สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)“
ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาพญาไท
บัญชีเลขที่ 003-2-86111-4 ประเภทออมทรัพย์
และขอได้โปรดส่งสำเนาการโอนเงินผ่านธนาคารมาที่
e-mail: thailandpod@gmail.com
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.