กำหนดจัดอบรม ๒ รุ่น รุ่นละ ๕ วัน ดังนี้
หลักการและเหตุผล
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาจารย์ในอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดสรรทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ระบบอุดมศึกษา เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษา การจัดการอบรมหลักสูตรก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ เป็นการดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าปฏิบัติงานในหน้าที่อาจารย์ของผู้รับทุนในโครงการพัฒนาอาจารย์ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้ว จำนวน ๓๒ รุ่น ด้วยตระหนักว่าบทบาทของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการบริการทางวิชาการแก่สังคมและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยคณาจารย์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันพันธกิจดังกล่าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องและรองรับกับความต้องการของสังคม ดังนั้น บทบาทของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษานอกจากจะต้องเป็นผู้สอน ผู้ถ่ายทอดความรู้แล้ว ยังต้องสามารถเป็นผู้ชี้แนะ เพื่อสร้างองค์ความรู้ เน้นการสอนเชิงสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ตลอดจนดูแลคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา อาจารย์ผู้สอนจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีความชำนาญทั้งด้านการสอน การวิจัย การบริการชุมชน มีมนุษยสัมพันธ์ และมีการประเมินผลการสอนอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพอาจารย์ อันเป็นคุณลักษณะของอาจารย์มืออาชีพ
การปฏิบัติงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องเป็นลักษณะของ dual profession คือต้องมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาที่ตนเองได้ศึกษาหรือฝึกอบรมมา และต้องมีความรู้สามารถในด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามคณาจารย์ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนในบทบาทของการเป็นผู้สอนโดยตรง รวมทั้งผู้รับทุนการศึกษา ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนในตำแหน่งอาจารย์หลังสำเร็จการศึกษา โดยมิได้มีการผ่านการฝึกฝนในวิชาชีพอาจารย์อย่างแท้จริง สถาบันอุดมศึกษาเองก็มิได้เน้นให้คณาจารย์มีความก้าวหน้าในลักษณะของการเป็นอาจารย์มืออาชีพ แต่มุ่งเน้นความก้าวหน้าในวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น อาจารย์ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการสอนตามประสบการณ์ที่ตนเองได้รับระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษาในศาสตร์นั้น ๆ จึงขาดความชำนาญในวิชาชีพอาจารย์ ทั้งด้านการเขียนวัตถุประสงค์การศึกษาหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ การออกแบบการสอน กระบวนการเรียนการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ การออกแบบการวัดและการประเมินผล ถึงแม้ว่าจะมีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันบางแห่งที่จัดให้มีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ก่อนปฏิบัติการสอนจริง แต่ก็เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ การเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมาจึงมีลักษณะให้ความสำคัญกับอาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ของโลกเปลี่ยนไป การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านอุดมศึกษา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง การพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาองค์กร โครงสร้างและระบบการทำงานของอาจารย์ให้เป็นอาจารย์มืออาชีพ ตระหนักถึงการพัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน ตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะด้านการสอนของอาจารย์
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมเครือข่าย การพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ” เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึงบทบาท และหน้าที่ของความเป็นอาจารย์มืออาชีพให้สามารถจัดการเรียน การสอนด้วยความมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
๑ เพื่อเสริมสร้างอาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีวิสัยทัศน์ แนวคิดใหม่และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุดมศึกษา ๒ เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของการเป็นอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษา ๓ เพื่อให้อาจารย์สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและออกแบบ การเรียนการสอนได้ ๔ เพื่อให้อาจารย์สามารถจำแนกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในแง่ของตัวผู้เรียน ห้องเรียน อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน และตัวผู้สอน ที่จะทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียน การสอนที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ได้ ๕ เพื่อให้อาจารย์สามารถออกแบบทดสอบ การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๖ เพื่อให้อาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและสร้างความร่วมมือต่อไปในอนาคต
๑ เพื่อเสริมสร้างอาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีวิสัยทัศน์ แนวคิดใหม่และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุดมศึกษา
๒ เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของการเป็นอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษา
๓ เพื่อให้อาจารย์สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและออกแบบ การเรียนการสอนได้
๔ เพื่อให้อาจารย์สามารถจำแนกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในแง่ของตัวผู้เรียน ห้องเรียน อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน และตัวผู้สอน ที่จะทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียน การสอนที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ได้
๕ เพื่อให้อาจารย์สามารถออกแบบทดสอบ การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖ เพื่อให้อาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและสร้างความร่วมมือต่อไปในอนาคต
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)
ระยะเวลาและสถานที่
กำหนดจัดอบรม ๒ รุ่น รุ่นละ ๕ วัน ดังนี้ ๑. รุ่นที่ ๓๓ ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ จังหวัดสงขลา ๒. รุ่นที่ ๓๔ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ จังหวัดสงขลา
๑. รุ่นที่ ๓๓ ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ จังหวัดสงขลา ๒. รุ่นที่ ๓๔ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ จังหวัดสงขลา
ผู้เข้ารับการอบรม
จำนวน ๘๐ คน แบ่งเป็นรุ่นละ ๔๐ คน ประกอบด้วย
๑. คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และในกำกับ (นักเรียนทุนภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และอาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้) จำนวน ๒๕ คน ๒. คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ที่สนใจเข้าร่วมรับการอบรม จำนวน ๑๕ คน
๑. คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และในกำกับ (นักเรียนทุนภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และอาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้) จำนวน ๒๕ คน
๒. คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ที่สนใจเข้าร่วมรับการอบรม จำนวน ๑๕ คน
งบประมาณ
ค่าลงทะเบียนในการเข้าอบรม คนละ ๑๒,๐๐๐ บาท ซึ่งครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้
- การอบรม ๕ วัน จำนวน ๓๐ ชั่วโมง - ที่พักโรงแรมในต่างจังหวัด ระหว่างการอบรม ๔ วัน - อาหารกลางวัน ๕ มื้อ อาหารเย็น ๔ มื้อ และ อาหารว่าง ๙ มื้อ - เอกสารประกอบการอบรม
หลักสูตรของการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ประกอบด้วยเนื้อหาต่อไปนี้
- What is professional teacher in higher education? - How do students learn? - Outcome-based learning - Writing behavioral objectives - How to engage students to learning - Instructional design - Online learning and blended learning - Technology-enhanced learning - How to assess students’ learning - Outcome-based assessment - Standard setting and Grading - What is a classroom action research? - A great teacher ….. inspiring students - Writing a lesson plan and preparing microteaching - Microteaching
วิธีการจัดการอบรม
- การบรรยาย - กิจกรรมกลุ่ม - การอภิปราย - การฝึกปฏิบัติ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑ อาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา มีวิสัยทัศน์ แนวคิดใหม่และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุดมศึกษา ๒ อาจารย์ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของการเป็นอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษา ๓ อาจารย์ตระหนึกถึงจิตวิญญาณความเป็นครู ๔ อาจารย์สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบ และออกแบบการเรียนการสอนได้ ๕ อาจารย์สามารถจำแนกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้ ๖ อาจารย์สามารถออกแบบการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๗ อาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและสร้างความร่วมมือต่อไปในอนาคต
๑ อาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา มีวิสัยทัศน์ แนวคิดใหม่และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุดมศึกษา
๒ อาจารย์ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของการเป็นอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษา
๓ อาจารย์ตระหนึกถึงจิตวิญญาณความเป็นครู
๔ อาจารย์สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบ และออกแบบการเรียนการสอนได้
๕ อาจารย์สามารถจำแนกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
๖ อาจารย์สามารถออกแบบการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๗ อาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและสร้างความร่วมมือต่อไปในอนาคต
การประเมินผลโครงการ
แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ
๑ มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนประมาณ ๘๐ คนตามเป้าหมาย ๒ ผลการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการอยู่ในเกณฑ์ดี ๓ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของได้ตามความคาดหวัง
๑ มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนประมาณ ๘๐ คนตามเป้าหมาย
๒ ผลการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการอยู่ในเกณฑ์ดี
๓ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของได้ตามความคาดหวัง
วิธีการชำระเงิน
สามารถดำเนินการชำระโดยโอนเงินผ่านบัญชีของสมาคม ควอท
ชื่อบัญชี “สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)“ ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาพญาไท บัญชีเลขที่ 003-2-86111-4 ประเภทออมทรัพย์
และขอได้โปรดส่งสำเนาการโอนเงินผ่านธนาคารมาที่ e-mail: thailandpod@gmail.com
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.