วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 – 16:30 น. (การอบรมผ่านระบบ Zoom)
หลักการและเหตุผล
ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จขององค์กร คือคุณภาพของบุคลากร ซึ่งการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ และสามารถประยุกต์โดยนำหลักการและความรู้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์รวมทั้งต่อยอดสร้างความรู้ใหม่ได้นั้น ย่อมนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้ดีขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research: R2R) เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ในการสังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่ตนเองปฏิบัติอยู่และพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัย เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำเป็นการผสมผสานระหว่างการพัฒนาคุณภาพในการทำงานและการวิจัยที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่าง ๆ ในองค์กร
บุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมให้มีความยั่งยืน การเสริมสร้างศักยภาพและผลิตบัณฑิตอันพึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิต รวมถึงการส่งเสริมการบริการวิชาการสู่สังคม เป็นหลัก ในขณะที่บุคลากรสายสนับสนุนก็ต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการเพื่อการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารและบุคลากรสายวิชาการ ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน บนพื้นฐานของการพัฒนางานประจำให้ได้มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสายวิชาการ และผู้บริหาร มีความจำเป็นเร่งด่วนในยุคการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ขณะที่กระบวนการวิจัยในงานประจำ เป็นแนวคิดที่ได้ถูกนำไปใช้ในการพัฒนางานประจำ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ไม่ซับซ้อนแต่สามารถยอมรับได้ เป็นผู้ที่ช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีการพัฒนาความคิดเชิงระบบด้วยการเปลี่ยน วิธีคิด เห็นคุณค่าของการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีชีวิตที่คิดบวกกับการทำงาน ส่งผลให้ปัญหาถูกแก้ไข หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็น “องค์กรสมรรถนะสูง หรือ High Performance Organization (HPO)” ต่อไป
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทย สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงได้จัดโครงการอบรม ออนไลน์ เรื่อง การวิจัยจากงานประจำ สำหรับสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย รุ่นที่ 6 (Routine to Research for Supporting Staff in the Thai Education System) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาจากงานประจำและพัฒนาเป็นงานวิจัยได้
วัตถุประสงค์
3. กิจกรรมการดำเนินงาน/เนื้อหาในการอบรม
เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ (ระบบออนไลน์) ที่ประกอบด้วย
การบรรยาย
- กรอบแนวคิดการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยจากงานประจำ
- กระบวนการวิจัยจากงานประจำที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษา
การฝึกปฏิบัติ
- การตั้งโจทย์วิจัยจากงานประจำ
- การวิเคราะห์ปัญหาจากงานประจำและพัฒนาเป็นงานวิจัย
- เขียนโครงร่างงานวิจัยจากงานประจำหน้าเดียว (One-sheet R2R Proposal)
กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรสายสนับสนุนจากระบบการศึกษาทุกระดับ เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวะศึกษา มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 300 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ความสอดคล้องกับ PSF
เป็นโครงการสำหรับสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของสายวิชาการและผู้บริหาร ผ่านกระบวนการแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำอย่างเป็นระบบ เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ในการสังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่ตนเองปฏิบัติอยู่และพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัย เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การติดตามประเมินผล
- แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
- จำนวนโครงร่างงานวิจัยจากงานประจำหน้าเดียว (One-sheet R2R Proposal) ของผู้เข้าอบรม
- ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมอบรม
วิทยากร
ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หน่วยงานดำเนินการ
ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรม
สมาชิกสมาคม ควอท คนละ 1,000 บาท
บุคคลทั่วไป คนละ 1,500 บาท*** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท คนละ
1,000 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารสมัครสมาชิกได้ที่ http://www.thailandpod.org/
เอกสาร Download
โครงการและกำหนดการ |
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.