โครงการ อาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พุทธศักราช 2563

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศ ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)


ความเป็นมาของโครงการ

สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่หลักในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม โดยเป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งคุณธรรม จริยธรรม และเนื้อหาวิชาความรู้ในแต่ละสาขา ที่สำคัญยังต้องมีทักษะในการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์ผลงาน ความสามารถในการสื่อสาร และการร่วมมือในการทางานกับผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อให้มีศักยภาพในการทางานในโลกอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจารย์ระดับ อุดมศึกษา จึงต้องเป็นผู้ที่นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาของตนเอง ยังต้องมีความชำนาญและ มีความรู้และเข้าใจในศาสตร์ด้านการสอนด้วย เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมตามที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ระดับอุดมศึกษาบางส่วนยังขาดความรู้ในด้านของการจัดการเรียนการสอน ไม่สามารถทำให้บัณฑิตมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานได้

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) มีหน้าที่ในการสนับสนุนอาจารย์ระดับอุดมศึกษาในการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอน โดยได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มาตั้งแต่ การแต่งตั้งในรูปคณะทำงาน จนภายหลังได้ก่อตั้ง และทำงานในรูปแบบของสมาคมฯ โดยมีภารกิจในการจัด การประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทั้งในด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ แนวคิดและแนวปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี ตลอดจนการนำเสนองานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับ การพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง มาเป็นปีที่ ๑๕ นอกจากนั้น เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ที่พัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาการสอน ให้ความรู้หลักการสอน เทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ การวัดและประเมินผล แก่อาจารย์ผู้อื่นได้ สมาคมฯ จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดตั้ง “โครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบด้านการสอน” โดยในปีนี้เป็นปีที่ ๓ มีแนวคิดเพื่อยกย่องอาจารย์ที่เป็นต้นแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถผลิตนวัตกรรมการเรียนรู้ และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน นอกจากนั้นยังอุทิศกาลังกายกำลังใจให้แก่วงการการศึกษาอย่างเต็มที่ ตลอดจนครองตนได้เป็นที่เคารพยกย่อง ในสถาบัน และต่อสาธารณชน สมาคมฯ ยังมอบรางวัลให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีนโยบายมุ่งส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน เน้นจรรยาบรรณวิชาชีพ และสามารถสร้าง และรักษาคุณภาพการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา โดยจัดมอบรางวัลในงานประชุมวิชาการ ควอท ครั้งที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๓ ด้วยการมอบ ใบประกาศเกียรติคุณให้กับอาจารย์ต้นแบบและมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับมหาวิทยาลัย

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ๒๕๖๓

หลักการและเหตุผล

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของอาจารย์ซึ่งถือเป็นปูชนียบุคคลที่สาคัญในการให้การศึกษาทั้งทางด้านวิชาการและด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา จึงได้จัด “โครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ซึ่งถือเป็นการยกย่อง สร้างขวัญและกำลังใจแด่อาจารย์ผู้อุทิศตนอย่างเต็มกำลังในการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพแก่สังคม

วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมและผลักดันการดำเนินการภารกิจด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา
  • เพื่อยกย่องและธำรงรักษา ไว้ซึ่งเกียรติคุณแห่งวิชาชีพครู รวมทั้งเป็นต้นแบบให้แก่อาจารย์ และนักศึกษาในการปฎิบัติตาม
  • เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานได้พัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเป็นอาจารย์ต้นแบบให้แก่อาจารย์รุ่นหลังที่จะประกอบวิชาชีพต่อไป
  • เพื่อเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจของอาจารย์ ในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ ทักษะการเรียนการสอนอันจะยังประโยชน์ต่อบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต
ลักษณะรางวัล คือ

๑) โล่ประกาศเกียรติคุณแก่สถาบันอุดมศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน จำนวน ๖ รางวัล
๒) ใบประกาศเกียรติคุณแก่อาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา จำนวน ๖ รางวัล

คุณสมบัติ

๑ สถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิ์เสนอ
    (๑) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ ด้านการสอน
    (๒) มีอาจารย์ดีเด่นที่มีศักยภาพด้านการสอน ส่งเสริมพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ของ สกอ.(PSF) ที่แนบมา
    (๓) มีการส่งเสริมการค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)
    (๔) มีการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ด้านการสอนอย่างต่อเนื่อง
    (๕) มีการส่งเสริม สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อประโยชน์ของสถาบันและส่วนรวม

๒ อาจารย์ต้นแบบ
    (๑) เป็นอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปฎิบัติหน้าที่อาจารย์ประจำเต็มเวลา ในสถาบัน อุดมศึกษาแห่งนั้น ยกเว้น ผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่ง ต่อไปนี้ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดีหรือตาแหน่งเทียบเท่า คณะกรรมการ ควอท และคณะกรรมการโครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ วันที่เสนอชื่อ ซึ่งอธิการบดีเป็นผู้ลงนามเสนอชื่อ
    (๒) เป็นผู้ปฎิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาที่เสนอชื่อ ตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป ณ วันที่เสนอ และมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ
    (๓) เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับ รางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน ที่จัดโดยสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) มาก่อน
    (๔) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและวิธีสอน สามารถจัดการเรียนรู้บูรณาการกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรด้านการสอน มีผลงานด้านการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์ความรู้ และการจัดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก

เกณฑ์การคัดเลือก

เพื่อให้การคัดเลือกและเชิดชูเกียรติรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นไปอย่างยุติธรรม จึงกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัล ตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ของ สกอ. (ดูจากเอกสารแนบ) ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ คือ

องค์ประกอบที่ ๑ องค์ความรู้ (Knowledge) ประกอบด้วย ๒ มิติ คือ
                   ๑.๑ ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชา
                   ๑.๒ ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ ๒ สมรรถนะ (Competencies) ประกอบด้วย ๔ มิติ คือ
                   ๒.๑ ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
                   ๒.๒ ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   ๒.๓ เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
                   ๒.๔ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์
องค์ประกอบที่ ๓ ค่านิยม (Values) ประกอบด้วย ๒ มิติ คือ
                   ๓.๑ คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
                   ๓.๒ ธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์ 

ทั้งนี้ ระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในแต่ละองค์ประกอบข้างต้น ไม่ต่ำกว่าระดับที่ ๓ จาก  ๔ ระดับ ซึ่งระดับคุณภาพแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

ระดับที่ ๑ 
เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของตนและประยุกต์ใช้ได้  มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้เบื้องต้น สามารถออกแบบกิจกรรม จัดบรรยากาศ ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนำผลประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ขององค์กร

ระดับที่ ๒ 
เป็นผู้มีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนระดับที่ ๑ ที่มีความรู้ลึกในศาสตร์ของตน  และติดตามความก้าวหน้าของความรู้ในศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ  มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน กำกับดูแลและติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่เพื่อนอาจารย์ในศาสตร์ได้  และส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ภายในองค์กร

ระดับที่ ๓ 
เป็นผู้มีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนระดับที่ ๒ ที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน ศาสตร์การเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ นำผลการวิจัยในชั้นเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เป็นพี่เลี้ยงและผู้ชี้แนะในระดับองค์กรด้านการจัดการเรียนรู้ และนโยบายด้านจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์

ระดับที่ ๔ 
เป็นผู้มีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนระดับที่ ๓ ที่เป็นผู้นำในศาสตร์ของตน ศาสตร์การเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์ความรู้ และการจัดการเรียนรู้ในระดับชาติ และนานาชาติ เป็นผู้นำเชิงนโยบายด้านจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑ สมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอนที่เหมาะสมเพื่อ
          - จัดทำเกณฑ์การคัดเลือกของผู้สมควรได้รับการคัดเลือกและวิธีการคัดเลือก
          - ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก อาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่สามารถปฎิบัติงานได้อย่างเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากหน่วยงานอื่น ๆ

๒ ประชาสัมพันธ์ โครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้สถาบันอุดมศึกษา เสนอชื่ออาจารย์ต้นแบบที่สมควรได้รับการคัดเลือก พร้อมส่งประวัติ และผลงาน (เอกสารข้อมูลประวัติและผลงานของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ตามแบบฟอร์ม และคลิป VDO ที่จัดทำขึ้น)

๓ สถาบันอุดมศึกษา เสนอรายชื่ออาจารย์ต้นแบบในสังกัดโดยเสนอได้สถาบันละ ๑ คน ตามเงื่อนไขที่กำหนด

๔ คณะกรรมการจะดาเนินการพิจารณาผลงาน โดยคณะกรรมการคัดเลือกอาจารย์ต้นแบบด้าน การสอน พิจารณาจากเอกสาร ซึ่งจะพิจารณาครอบคลุมถึงผลงานในอดีตที่ผ่านมา สภาพงานในปัจจุบัน (เอกสารข้อมูลประวัติและผลงานของผู้ที่ได้รับการเสนอตามแบบฟอร์มที่ ควอท จัดทำขึ้นและคลิป VDO ที่แสดงถึงผลงานการพัฒนาด้านการสอนที่มีความภาคภูมิใจที่สุด)

๕ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากข้อ ๔ นำเสนอผลงานด้านการเรียนการสอนต่อคณะกรรมการคัดเลือกอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน

๖ คณะกรรมการฯ พิจารณาตัดสินผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ได้รับรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓

๗ การประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลโครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓ แจ้งทางจดหมาย และwww.thailandpod.org ผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นการสิ้นสุด

แผนการดำเนินงาน
ระยะเวลา ขั้นตอน
๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ
กาหนดส่งผลงาน ภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๒. สถาบันเสนอชื่ออาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอนมายัง ควอท
๑๐ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๓. คณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการคัดเลือก
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๔. ประกาศผลการคัดเลือก
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๕. พิธีมอบประกาศเกียรติคุณ ในวันประชุมวิชาการควอท ครั้งที่ ๑๕ ประจาปี ๒๕๖๓
รางวัลและการจัดพิธี

โครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๖๓” มีการมอบรางวัล ดังนี้
          ๑. โล่ประกาศเกียรติคุณ แก่สถาบันอุดมศึกษาที่มีอาจารย์ต้นแบบ ด้านการสอน ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน ๖ รางวัล
          ๒. ประกาศเกียรติคุณแก่อาจารย์ต้นแบบด้านการสอน พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน ๖ รางวัล ในงานประชุมวิชาการ

พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในวันประชุมวิชาการ ควอท ครั้งที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๓ ในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ (ผ่านระบบ online โดยจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดทางวิชาการ รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง พัฒนางานสอน และพัฒนาวิชาชีพของตน เผยแพร่ความรู้ และสร้างค่านิยมที่ดีสู่สังคม เพื่อเป็นกาลังสาคัญในการปฎิรูปการศึกษาของชาติให้ประสบความสำเร็จ ในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

เอกสาร Download