โครงการอบรมออนไลน์ เรื่อง เทคนิคการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย รุ่นที่ 2 (Techniques for Creating Service Innovations for Supporting Staffs in the Thai Education System)

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:30 น. (การอบรมผ่านระบบ Zoom)

 หลักการและเหตุผล

           การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทยให้มีความรู้ความสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ และสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ย่อมนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานและการให้บริการให้ดีขึ้น โดยทั่วไปบุคลากรทางการศึกษามีลักษณะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการเป็นหลัก สำหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ รวมถึงผู้มาติดต่อ เป็นงานบริการด้านธุรการ และการบริการวิชาการ ทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ในการสังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่ตนเองปฏิบัติอยู่และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมการให้บริการ เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน

           การสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการจากงานประจำของบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย ภายใต้บทความของตนเอง (ช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย พร้อมแนวทางการตัดสินใจหรือแนวทางการปฏิบัติที่ดี ให้กับผู้บริหารหรือสายวิชาการ ให้เป็นไปตามระเบียบและทันสมัย รวมทั้งต้องมีความชำนาญในหน้าที่ของตน) จึงเป็นสิ่งจำเป็นของสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย ที่ต้องเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบได้ รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการตามที่องค์กรกำหนดภายใต้บทบาทดังกล่าวได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็น “องค์กรสมรรถนะสูง หรือ High Performance Organization (HPO)” ต่อไป

           เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงได้จัดโครงการอบรมออนไลน์ เรื่อง เทคนิคการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย รุ่นที่ 2 (Techniques for Creating Service Innovations for Supporting Staffs in the Thai Education System) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความสามารถในการพัฒนางานประจำสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการจากงานประจำ ภายใต้บทความของตนเองได้
    2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจากงานประจำที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาหน้างาน หรือความต้องการของผู้รับบริการได้

กิจกรรมการดำเนินงาน/แผนการดำเนินงาน

    เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ (ระบบออนไลน์)  ที่ประกอบด้วย

     การบรรยาย

    • กรอบแนวคิดการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
    • การพัฒนางานประจำอย่างเป็นระบบ ภายใต้บทบาทของสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย
    • เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจากงานประจำ สำหรับสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย

     การฝึกปฏิบัติ

    • การออกแบบการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจากงานประจำที่เหมาะสม ภายใต้บทบาทของสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรสายสนับสนุนจากระบบการศึกษาทุกระดับ เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวะศึกษา มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 300 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. สายสนับสนุนสามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาจากงานประจำ และสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสมได้
    2. สายสนับสนุนสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจากงานประจำที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาหน้างานหรือความต้องการของผู้รับบริการ
    3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ การแก้ไข ปรับปรุง พัฒนางานประจำ หรือการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ ผ่านกระบวนการที่เหมาะสมได้

ความสอดคล้องกับ PSF

    เป็นโครงการสำหรับสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของสายวิชาการและผู้บริหาร ผ่านกระบวนการแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำอย่างเป็นระบบ เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ในการสังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่ตนเองปฏิบัติอยู่ และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมการให้บริการ เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การติดตามประเมินผล

    1. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
    2. ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมอบรม

วิทยากร

    ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

หน่วยงานดำเนินการ

    1. สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)
    2. ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรม

    สมาชิกสมาคม  ควอท              คนละ  1,000  บาท
    บุคคลทั่วไป                          คนละ  1,500  บาท

    *** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท คนละ 1,000 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารสมัครสมาชิกได้ที่ https://thailandpod.org/

เอกสาร Download

โครงการและกำหนดการ