เรื่อง ภูมิทัศน์อุดมศึกษาไทยในบริบทโลก: แนวโน้มและโอกาส Thai Higher Education Landscape in the Global Context: Trends and Opportunities
วันพฤหัสบดีที่ 21 ถึง วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษานั้น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สถาบันอุดมศึกษา นักการศึกษา ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารและผู้พัฒนาหลักสูตร ต้องวิเคราะห์และวางแผนรูปแบบการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการออกแบบหลักสูตรที่รองรับการเปลี่ยนแปลง เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบออนไลน์ การพัฒนาคณาจารย์ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทั้งแบบออนไลน์และแบบผสมผสานได้ มีความเป็นอาจารย์มืออาชีพ ทั้งด้านการสอนและการวิจัย ตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ความรู้ (Knowledge) สมรรถนะ (Competencies) และค่านิยม (Value) รวมถึงการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถปรับตัวให้พร้อมกับรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง ปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานได้
สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ได้ทำงานในลักษณะของเครือข่ายเพื่อสนับสนุนอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และจากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนในฐานะอาจารย์ระดับอุดมศึกษา โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มาตั้งแต่การแต่งตั้งในรูปแบบคณะทำงาน จนภายหลังได้ก่อตั้งและทำงานในรูปแบบของสมาคม ซึ่งมีภารกิจในการจัดการประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทั้งในด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ แนวคิดและแนวปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี ตลอดจนการนำเสนอการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 19 ซึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2567 นี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนสมาคมฯ ในการจัดประชุมวิชาการประจำปีในหัวข้อ ภูมิทัศน์อุดมศึกษาไทยในบริบทโลก: แนวโน้มและโอกาส (Thai Higher Education Landscape in the Global Context: Trends and Opportunities) เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ร่วมกันวิเคราะห์ วางแผน กำหนดนโยบาย พัฒนาระบบและกลไก เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วย การรับฟังแนวคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อมุมมองด้าน จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ การเชิดชูเกียรติสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีเด่น การนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและอาจารย์ระดับอุดมศึกษาจากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มอนาคตของอุดมศึกษาไทย เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการประชุมวิชาการครั้งนี้ เป็นหนทางสำคัญที่รองรับการขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน พัฒนาบุคลากร และพัฒนาองค์กรให้พร้อมปรับตัว และก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
วัตถุประสงค์
ขอบเขตและรูปแบบการดำเนินงาน
การจัดประชุมวิชาการ จะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ การรับฟังการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเรื่อง ภูมิทัศน์อุดมศึกษาไทยในบริบทโลก: แนวโน้มและโอกาส (Thai Higher Education Landscape in the Global Context: Trends and Opportunities) โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศ การมอบรางวัลเชิดชูเกียรติมหาวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านการเรียนการสอนดีเด่น การมอบรางวัลเชิดชูเกียรติอาจารย์ต้นแบบที่มีการส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอน การนำเสนอบทความวิจัย บทความวิชาการ เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน โดยมีการคัดเลือกให้รางวัลบทความนวัตกรรมการเรียนการสอนดีเด่น จำนวน 3 บทความ
การจัดประชุมวิชาการ จะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
ผู้เข้าร่วมประชุม
จำนวน 300 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับกระทรวงที่กำกับดูแลการอุดมศึกษา ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล สมาชิกสมาคม ควอท คณาจารย์และบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการของ ควอท และผู้ปฏิบัติงาน นิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
จำนวน 300 คน ประกอบด้วย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)
งบประมาณ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สถาบันอุดมศึกษาและคณาจารย์ได้รับแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาได้รับแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอน ให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐาน THAILAND-PSF ในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาและคณาจารย์ได้รับแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ในสถาบันอุดมศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้จากงานวิจัย เพื่อขยายผลให้อาจารย์ในสถาบันนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สถาบันอุดมศึกษาและคณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของ การดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เกิดความคิดอันจะนำไปใช้และวิจัยเชิงปฏิบัติการต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ได้ผลเลิศต่อไป เกิดเครือข่ายผู้รู้ในกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนในศาสตร์ต่าง ๆ และเกิดความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ทั้งในและระหว่างมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.