วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 จำนวน 1 วัน เวลา 09:00 – 16:00 น. หลักการและเหตุผล การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy ถือเป็นทักษะที่จำเป็นต่อทุกวงการ เพราะการรู้สารสนเทศเป็นทักษะที่จะช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ รู้จักประเมินสารสนเทศ สังเคราะห์และสื่อสารสารสนเทศ รวมทั้งอ้างอิงสารสนเทศ และเลือกใช้สารสนเทศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นการพัฒนาทักษะสารสนเทศ ถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนเอง องค์กร และสังคม เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ทุก ๆ ศาสตร์ได้นำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้ในการตัดสินใจ หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงกล่าวได้ว่าทักษะสารสนเทศสามารถชี้วัดได้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร และที่สำคัญคือนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น หากบุคคลากรในองค์กรรู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาองค์กรได้ การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นการฝึกปฏิบัติให้กับผู้เข้ารับการอบรมได้มีทักษะสารสนเทศ สามารถนำองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนในการทำวิจัยหรือผลงานทางวิชาการไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างสรรค์ผลงานสู่สังคม รวมทั้งรู้จักและสามารถใช้เครื่องมือในการจัดการบรรณานุกรมเพื่อการทำผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้ผู้อบรมมีทักษะสารสนเทศและสามารถทำผลงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพทางสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) และสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
การสืบค้นข้อมูลเพื่อการวิจัยและการใช้โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมในการทำผลงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนให้ผู้อบรม มีทักษะการสืบค้นและทักษะการจัดการบรรณุกรมด้วยโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม รวมทั้งมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และประเมินแหล่งสารสนเทศ พร้อมสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงาน/เนื้อหาในการอบรม การอบรมผ่านการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติการ โดยครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้ กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดม ศึกษาของเอกชน จำนวน 50 คน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ความสอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา PSF ในมิติ องค์ประกอบที่ 1 ด้านองค์ความรู้ (Knowledge) ประกอบด้วย 2 มิติ คือ การติดตามประเมินผล วิทยากร นางสาวรตานา ยามาเจริญ บรรณารักษ์ชำนาญการ หน่วยงานดำเนินการ ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกสมาคม ควอท คนละ 2,000 บาท *** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท> เอกสาร Download
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร
1. ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาของตน
2. ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้
ระดับที่ 2
เป็นผู้มีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนระดับที่ 1 ที่มีความรู้ลึกในศาสตร์ของตน และติดตามความก้าวหน้าของความรู้ในศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน กำกับดูแลและติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่เพื่อนอาจารย์ในศาสตร์ได้ และส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ภายในองค์กร
องค์ประกอบที่ 2 ด้านสมรรถนะ (Competencies) ประกอบด้วย 4 มิติ คือ
1. ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์
ระดับที่ 1
เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของตนและประยุกต์ใช้ได้ มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้เบื้องต้น สามารถออกแบบกิจกรรม จัดบรรยากาศ ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนำผลประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ขององค์กร
นางสาวประไพ จันทร์อินทร์ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
บุคคลทั่วไป คนละ 2,500 บาท
โครงการและกำหนดการ
ใบจองห้องพัก
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.