โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Curriculum Redesign เพื่อการตรวจสอบและรับรองหลักสูตร

วันที่ 29 - 30 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:30 – 16:30 น.
ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร

 หลักการและเหตุผล

           ตามที่ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวง เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 และ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ 2565 เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 นั้น

           เพื่อให้อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ออกแบบการจัดการศึกษาที่ประกันผลลัพธ์การเรียนรู้ ตลอดจนดำเนินการควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีมาตรฐานตามกฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้อง สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Curriculum Redesign เพื่อการตรวจสอบและรับรองหลักสูตรขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและสอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสร้างความเข้าใจและการตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและ การตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา
    2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสามารถออกแบบการจัดการศึกษาที่สามารถประกันผลลัพธ์การเรียนรู้ และสอดคล้องกับแนวคิดและหลักการการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษา เพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา

ลักษณะกิจกรรมการดำเนินงาน

    การบรรยาย กิจกรรมการฝึกปฏิบัติ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เงื่อนไขการสมัครเข้าร่วมอบรม

    อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสามารถออกแบบการจัดการศึกษาที่สามารถประกันผลลัพธ์การเรียนรู้ และสอดคล้องกับแนวคิดและหลักการการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษา เพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา

สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา PSF ในมิติ

    องค์ประกอบที่ 1 : องค์ความรู้ (Knowledge) มิติ 1.2 ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้
    องค์ประกอบที่ 2 : สมรรถนะ (Competencies) มิติ 2.1 ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูของผูเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
    องค์ประกอบที่ 3 : ค่านิยม (Values) มิติ 3.1 คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

การติดตามประเมินผล

  1. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
  2. ประเมินจากการนำเสนอผลงานการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรในระหว่างการทำกิจกรรม
  3. การติดตามประเมินผลให้คำปรึกษาหลังการอบรม

วิทยากร

วิทยากร

  1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ
    รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ทิพากร
    ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงอุษณีย์ คำประกอบ
    รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยวิทยากร

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.อนิรุทธ์ สติมั่น
    มหาวิทยาลัยศิลปากร
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.มนัสนันท์ หัตถศักดิ์
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา วงษ์ไทย
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดาบเพชร
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา ศรีสังข์
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ สัจจพิบูล
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินธร สินจินดาวงศ์
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ
    มหาวิทยาลัยพะเยา
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี
    มหาวิทยาลัยพะเยา
  12. ดร.ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หน่วยงานดำเนินการ

    สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)

ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรม

    สมาชิกสมาคม  ควอท              คนละ  5,000  บาท
    บุคคลทั่วไป                          คนละ  7,000  บาท

    ***หมายเหตุ  สมาชิกประเภทสถาบันสามารถเข้าร่วมได้ 2 คน  ในราคาสมาชิก ควอท

เอกสาร Download

โครงการและกำหนดการ
ใบจองห้องพัก