โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตสื่อการสอนด้วยนวัตกรรม AI

วันที่ 6-7 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น.
ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร

(ขอให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำ notebook มาใช้ในการทำ Workshop ในการอบรม)

 หลักการและเหตุผล

           การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนารูปแบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบกิจกรรม การเรียนการสอนและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันมี การพัฒนาให้น่าสนใจ และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้มากกว่าการอ่านจากหนังสือเพียงอย่างเดียว

           การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติโดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาผลิตสื่อการสอนเป็นสื่อดิจิทัลวิดีโอ ซึ่ง AI สามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการทำงาน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์สถานการณ์และบริบทรอบตัว ทำให้สามารถนำเสนอเนื้อหาออกมาได้อย่างน่าสนใจ สามารถเพิ่มคำบรรยายอัตโนมัติ สร้างเนื้อหาในหลายภาษา หรือการปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ชมที่มีความต้องการพิเศษ รวมถึง การนำปัญญาประดิษฐ์มาสร้างเนื้อหาวิดีโอ เปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากขึ้น

           ดังนั้น เพื่อให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการออกแบบการสอนที่ทันสมัย ทางสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงจัดโครงการอบรมเชิงเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตสื่อการสอนด้วยนวัตกรรม AI เพื่อสนับสนุนให้ผู้สอนได้ฝึกปฏิบัติโดยนำเทคโนโลยี AI มาผลิตสื่อการสอนในรูปแบบที่น่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อรูปแบบอื่นให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI
    2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เครื่องมือ AI ในการเตรียมเนื้อหาได้
    3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เครื่องมือ AI ผลิตงานวิดีโอได้อย่างสมบูรณ์

3. กิจกรรมการดำเนินงาน/เนื้อหาในการอบรม

การอบรมผ่านการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติการ โดยครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ AI
  2. การใช้งาน AI สร้างเนื้อหา /รูปภาพ / วิดีโอ
  3. ภาคปฏิบัติ : การใช้ AI ในการสร้างสื่อวิดีโอการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ

กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดม ศึกษาของเอกชน จำนวน 50 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI
    2. ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยี AI ได้ด้วยตนเอง

ความสอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา PSF ในมิติ

    องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะ (Competencies) ประกอบด้วย 4 มิติ คือ
    1. ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
    2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
    4. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์
    ระดับที่ 1 
    เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของตนและประยุกต์ใช้ได้  มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้เบื้องต้น สามารถออกแบบกิจกรรม จัดบรรยากาศ ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนำผลประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ขององค์กร

การติดตามประเมินผล

  1. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
  2. ผลงานสื่อการสอนด้วย AI ของผู้เข้าอบรมคนละ 1 ชิ้นงาน

วิทยากร

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

หน่วยงานดำเนินการ

    1. สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)
    2. อาจารย์วนิดา  คูชัยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรม

    สมาชิกสมาคม  ควอท              คนละ  3,500  บาท
    บุคคลทั่วไป                          คนละ  4,200  บาท

    *** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท คนละ
    3,500 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารสมัครสมาชิกได้ที่ http://www.thailandpod.org/

     

เอกสาร Download

โครงการและกำหนดการ
ใบจองห้องพัก