วันที่ 10-11 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. จัดที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม และออนไลน์
หลักการและเหตุผล
การเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายให้สถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ได้แก่ การเรียนการสอนในสถานที่ตั้ง การเรียนผ่านออนไลน์ หรือการเรียนออนไลน์ควบคู่กับ การสอนในชั้นเรียนตามความเหมาะสม เป็นไปตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสารสนเทศ พ.ศ. 2565 (ณ 21 ต.ค. 2565) กรณีที่มีภาวะฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบในชั้นเรียนปกติ ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการชั่วคราว แต่ให้คำนึงถึงการบริหารหลักสูตรตามองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ท้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านศาสตร์การสอนที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) ด้านการออกแบบเนื้อหา 3) ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ด้านการออกแบบการวัดและประเมินผล 5) ด้านความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และ6) ด้านความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีและทรัพยากรทางการศึกษา
สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงได้กำหนดแผนการดำเนินงานในการพัฒนาอาจารย์ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเครื่องมือที่หลากหลายด้วยการใช้ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) ซึ่งเป็นการสอนผ่านเครือข่าย ที่อาศัยเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้การเรียนการสอนโดยผู้สอนและผู้เรียน ทำกิจกรรมผ่านห้องเรียนเสมือนตามที่ผู้สอนออกแบบไว้แทนการสอนในชั้นเรียนปกติ โดยการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนเป็นนวัตกรรมการศึกษา ที่ช่วยลดข้อจำกัดด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความพร้อมด้านเวลา สถานที่และความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน สามารถจัดได้ทั้งในสถานที่ นอกสถานที่และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการห้องเรียนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ และสิ่งที่ การเรียนในห้องเรียนเสมือนไม่มี ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ด้านสังคมระหว่างผู้เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้ผ่านจักรวาลนฤมิตร หรือเมต้าเวิร์ส (Metaverse) คำนี้ เป็นคำใหม่ที่ราชบัณฑิตยสภาเพิ่งบัญญัติเป็นภาษาไทยไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งหมายรวมถึงโลกเสมือน ที่รองรับการจัดสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบ 3 มิติในรูปแบบออนไลน์ต่อเนื่อง โดยโลกเสมือนจริงบนพื้นที่ดิจิทัล อันเกิดจากการรวมกันขององค์ประกอบ 3 สิ่ง ได้แก่ VR (Virtual Reality) ความจริงเสมือน, AR (Augmented Reality) ความจริงเสริมและอินเทอร์เน็ต
ดังนั้น สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงกำหนดจัดโครงการอบรม เรื่อง การพัฒนาเมต้าเวิร์สสำหรับการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (ระดับ Advanced) เพื่อให้อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ได้นำเครื่องมือการจัดการห้องเรียนเสมือนจริง หรือ Metaverse ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนานักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
ผู้เข้าร่วมโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การติดตามและประเมินผล
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
เนื้อหาในการอบรม
ความสอดคล้องกับ PSF
องค์ประกอบที่ 1 : องค์ความรู้ (knowledge) มิติ 2.2 ดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับที่ 1 ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และมิติ 2.3 เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนผู้เรียน ระดับ 2 จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน
องค์ประกอบที่ 3 : ค่านิยม (Values) มิติ 3.1 คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ระดับ 1 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมทั้งใน และนอกหลักสูตรเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล บุญลือ
นายกสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คุณชวการ กมลรักษ์
นายกสมาคมเมต้าเวิร์สประเทศไทย
ค่าลงทะเบียน
กรณีออนไซต์ 2 วัน
สำหรับสมาชิก ควอท คนละ 3,500 บาท
บุคคลทั่วไป คนละ 4,200 บาทกรณีออนไลน์ 2 วัน
สำหรับสมาชิก ควอท คนละ 1,800 บาท
บุคคลทั่วไป คนละ 2,500 บาท
*** หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอทสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารสมัครสมาชิกได้ที่ http://www.thailandpod.org/regis.html
Copyright © 2018 thailandpod. All rights reserved.