สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สมาคม ควอท)
(Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education)
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ ควอท
    • ความเป็นมา
    • ทำเนียบรายนามคณะกรรมการ
    • คณะอนุกรรมการ
    • แผนการดำเนินการ
  • การอบรม/ประชุมวิชาการ
    • โครงการ "ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ"
    • หลักสูตร "วิทยากรแกนนำตามกรอบ UK PSF"
    • อบรม/ประชุมวิชาการ
    • โครงการ Share and Learn
    • โครงการอาจารย์ต้นแบบ
    • Best Practice
  • Thailand-PSF
    • คู่มือการขอรับการประเมิน
    • แบบยื่นขอรับการประเมิน
    • แบบประเมินตนเอง
  • ผลการดำเนินการ
  • สมาชิก ควอท
    • รายชื่อสมาชิก
    • การสมัครสมาชิก
  • ระบบ Online Active Learning
  • ประมวลกิจกรรม
  • ติดต่อ ควอท

การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 18

  • เกี่ยวกับโครงการ
  • กำหนดการ
  • ดาวน์โหลดเอกสาร
  • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมฯ
  • รูปแบบการส่งบทความ
  • ลงทะเบียนส่งบทความ

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์: 02-039-5527
(ตามวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์มือถือ: 082-9375337
แฟกซ์: 02-039-5647
Email: thailandpod@gmail.com

การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 18 พลิกโฉมอุดมศึกษาไทย: การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง Reinventing Thai Higher Education: 'Forever' Changes

วันพฤหัสบดีที่ 23 ถึง วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร

 หลักการและเหตุผล

           การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทั้งสถาบันอุดมศึกษา นักการศึกษา ผู้สอน และผู้เรียนต้องเตรียมพร้อมอย่างเท่าทันอยู่เสมอ สถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารและผู้พัฒนาหลักสูตร ต้องวิเคราะห์และวางแผนรูปแบบการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ออกแบบหลักสูตรที่รองรับการเปลี่ยนแปลง เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบออนไลน์ การพัฒนาคณาจารย์ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทั้งแบบออนไลน์และแบบผสมผสานได้ มีความเป็นอาจารย์มืออาชีพ ทั้งด้านการสอนและการวิจัย ตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ความรู้ (Knowledge) สมรรถนะ (Competencies) และค่านิยม (Value) รวมถึงการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถปรับตัวให้พร้อมกับรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง ปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานได้

           สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ได้ทำงานในลักษณะของเครือข่ายเพื่อสนับสนุนอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และจากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนในฐานะอาจารย์ระดับอุดมศึกษา โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มาตั้งแต่การแต่งตั้งในรูปแบบคณะทำงาน จนภายหลังได้ก่อตั้งและทำงานในรูปแบบของสมาคม ซึ่งมีภารกิจในการจัดการประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทั้งในด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ แนวคิดและแนวปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี ตลอดจนการนำเสนอการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 18 ซึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2566 นี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนสมาคมฯ ในการจัดประชุมวิชาการประจำปีในหัวข้อ พลิกโฉมอุดมศึกษาไทย: การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง (Reinventing Thai Higher Education: ‘Forever’ changes) ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ร่วมกันวิเคราะห์ วางแผน กำหนดนโยบาย พัฒนาระบบและกลไก เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

           การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วย การรับฟังแนวคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อมุมมองด้าน จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ การเชิดชูเกียรติสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีเด่น การนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและอาจารย์ระดับอุดมศึกษาจากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ปัจจุบันและคาดการณ์อนาคตของอุดมศึกษาไทย เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการประชุมวิชาการครั้งนี้ นับเป็นหนทางสำคัญที่รองรับการขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน พัฒนาบุคลากร และพัฒนาองค์กรให้พร้อมปรับตัว และก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผ่านการวิเคราะห์อนาคตของอุดมศึกษาไทย โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    2. 2.2 เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม คุณภาพการจัดการเรียนการสอนในวิถีใหม่และการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐาน Thailand PSF
    3. เพื่อสรรหาและเชิดชูเกียรติมหาวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และเชิดชูเกียรติอาจารย์ต้นแบบที่มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
    4. เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ที่สนับสนุนแนวคิดวิถีใหม่ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
    5. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษา ที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการจัด การเรียนการสอนและการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีคุณภาพ
    6. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับ การเรียนการสอนที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาระหว่างสถาบันและคณาจารย์อุดมศึกษา ทั่วประเทศ

ขอบเขตและรูปแบบการดำเนินงาน

    การจัดประชุมวิชาการ จะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

    1. การรับฟังการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเรื่อง พลิกโฉมอุดมศึกษาไทย: การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง(Reinventing Thai Higher Education: ‘Forever’ changes) และการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
    2. การมอบรางวัลเชิดชูเกียรติมหาวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ จนมีอาจารย์ต้นแบบด้านการเรียนการสอน 
    3. การมอบรางวัล เชิดชูเกียรติอาจารย์ต้นแบบที่มีการส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
    4. การนำเสนอบทความวิจัย บทความวิชาการ เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาอาจารย์ ของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีการคัดเลือกให้รางวัลบทความนวัตกรรมการเรียนการสอนดีเด่น จำนวน 3 บทความ

ผู้เข้าร่วมประชุม

    จำนวน 300 คน ประกอบด้วย

    1. ผู้บริหารระดับกระทรวงที่กำกับดูแลการอุดมศึกษา
    2. ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
    3. ตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล
    4. สมาชิกสมาคม ควอท
    5. คณาจารย์และบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษา
    6. คณะกรรมการของ ควอท และผู้ปฏิบัติงาน
    7. นิสิต  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

    1. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
    2. สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. สถาบันอุดมศึกษาและคณาจารย์ได้รับแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
    2. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาได้รับแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอน วิถีใหม่และการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐาน Thailand PSF ในสถาบันอุดมศึกษา
    3. สถาบันอุดมศึกษาและคณาจารย์ได้รับแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้จากงานวิจัย เพื่อขยายผลให้อาจารย์ในสถาบันนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
    4. สถาบันอุดมศึกษาและคณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในกระบวนการการจัด การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
    5. สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของ การดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เกิดความคิดอันจะนำไปใช้และวิจัยเชิงปฏิบัติการต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ได้ผลเลิศต่อไป
    6. เกิดเครือข่ายผู้รู้ในกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนในศาสตร์ต่าง ๆ และเกิดความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ทั้งในและระหว่างมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ค่าลงทะเบียน

ฟรี ไม่มีค่าลงทะเบียน

 

 




 

 

Other Websites

  • สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ปฏิทินกิจกรรม

Social Media

Contact Us

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคาร 2 ชั้น 19

เลขที่ 328 ถ. ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กทม 10400

โทรศัพท์: 02-039-5527
(ตามวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์มือถือ: 082-937-5337
แฟกซ์: 02-039-5647
Email: thailandpod@gmail.com


Map

Copyright © 2018  thailandpod. All rights reserved.