สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สมาคม ควอท)
(Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education)
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ ควอท
    • ความเป็นมา
    • ทำเนียบรายนามคณะกรรมการ
    • คณะอนุกรรมการ
    • แผนการดำเนินการ
  • การอบรม/ประชุมวิชาการ
    • โครงการ "ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ"
    • หลักสูตร "วิทยากรแกนนำตามกรอบ UK PSF"
    • อบรม/ประชุมวิชาการ
    • โครงการอาจารย์ต้นแบบ
  • ผลการดำเนินการ
  • สมาชิก ควอท
    • รายชื่อสมาชิก
    • การสมัครสมาชิก
  • ประมวลกิจกรรม
  • Best Practice
  • ติดต่อ ควอท

หลักสูตร
ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ
ประจำปี 2561

  • เกี่ยวกับหลักสูตร
  • ดาวน์โหลดเอกสาร / VDOการบรรยาย
  • ลงทะเบียน
  • วิธีชำระเงิน

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์: 02-039-5527
(ตามวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์มือถือ: 097-004-2991
แฟกซ์: 02-039-5647
Email: thailandpod@gmail.com

ontact@domain.com

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ” ประจำปี 2561
รุ่นที่ 28-29

รุ่นที่ 28 ระหว่างวันที่ 4-8 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมวีวิช จังหวัดขอนแก่น
รุ่นที่ 29 ระหว่างวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่

 หลักการและเหตุผล

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาจารย์ในอุดมศึกษามา อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดสรรทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ระบบอุดมศึกษา เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษา การจัดการอบรมหลักสูตรก้าวแรก สู่อาจารย์มืออาชีพ เป็นการดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าปฏิบัติงานในหน้าที่อาจารย์ของ ผู้รับทุนในโครงการพัฒนาอาจารย์ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้ว จำนวน 27 รุ่น ด้วยตระหนักว่าบทบาทของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการบริการทางวิชาการแก่สังคมและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยคณาจารย์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันพันธกิจดังกล่าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องและรองรับกับความต้องการของสังคม ดังนั้น บทบาทของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษานอกจากจะต้องเป็นผู้สอน ผู้ถ่ายทอดความรู้แล้ว ยังต้องสามารถเป็นผู้ชี้แนะ เพื่อสร้างองค์ความรู้ เน้นการสอน เชิงสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ตลอดจนดูแลคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา อาจารย์ผู้สอนจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีความชำนาญทั้งด้านการสอน การวิจัย การบริการชุมชน มีมนุษยสัมพันธ์ และมีการประเมินผลการสอนอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพอาจารย์ อันเป็นคุณลักษณะของอาจารย์มืออาชีพ การปฏิบัติงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องเป็นลักษณะของ dual profession คือต้องมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาที่ตนเองได้ศึกษาหรือฝึกอบรมมา และต้องมีความรู้สามารถในด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามคณาจารย์ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนในบทบาทของการเป็นผู้สอนโดยตรง รวมทั้งผู้รับทุนการศึกษา ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนในตำแหน่งอาจารย์หลังสำเร็จการศึกษา โดยมิได้มีการผ่านการฝึกฝนในวิชาชีพอาจารย์อย่างแท้จริง สถาบันอุดมศึกษาเองก็มิได้เน้นให้คณาจารย์มีความก้าวหน้าในลักษณะของการเป็นอาจารย์มืออาชีพ แต่มุ่งเน้นความก้าวหน้าในวิชาชีพในสาขาต่างๆ เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น อาจารย์ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการสอนตามประสบการณ์ที่ตนเองได้รับระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษาในศาสตร์นั้นๆ จึงขาดความชำนาญในวิชาชีพอาจารย์ ทั้งด้านการเขียนวัตถุประสงค์การศึกษาหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ การออกแบบการสอน กระบวนการเรียนการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ การออกแบบการวัดและการประเมินผล ถึงแม้ว่าจะมีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันบางแห่งที่จัดให้มีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ก่อนปฏิบัติการสอนจริง แต่ก็เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ การเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมาจึงมีลักษณะให้ความสำคัญกับอาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ของโลกเปลี่ยนไป การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านอุดมศึกษา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงและการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งด้านการพัฒนาอาจารย์ การพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาองค์กร โครงสร้างและระบบการทำงานของอาจารย์ให้เป็นอาจารย์มืออาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับสมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ” เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาตระหนักถึงบทบาท และหน้าที่ของความเป็นอาจารย์มืออาชีพให้สามารถจัดการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจและมีประสิทธิภาพ

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างอาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีวิสัยทัศน์ แนวคิดใหม่และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุดมศึกษา
  2. เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของการเป็นอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษา
  3. เพื่อให้อาจารย์สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและออกแบบการเรียนการสอนได้
  4. เพื่อให้อาจารย์สามารถจำแนกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในแง่ของตัวผู้เรียน ห้องเรียน อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน และตัวผู้สอน ที่จะทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียน การสอนที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ได้
  5. เพื่อให้อาจารย์สามารถออกแบบทดสอบ การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. เพื่อให้อาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและสร้างความร่วมมือต่อไปในอนาคต

 ผู้รับผิดชอบโครงการ

สมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)

 ผู้เข้ารับการอบรม

จำนวน 50 คน ประกอบด้วย

- คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และในกำกับ (นักเรียนทุน สกอ. ภายใต้โครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา)

- คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน

 งบประมาณ

ค่าลงทะเบียนในการเข้าอบรม คนละ 15,000 บาท ซึ่งครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้

- การอบรม 5วัน จำนวน 30 ชั่วโมง

- ที่พักโรงแรมในต่างจังหวัด ระหว่างการอบรม 4 วัน

- อาหารกลางวัน 5 มื้อ อาหารเย็น 4 มื้อ และ อาหารว่าง 9 มื้อ

- เอกสารประกอบการอบรม

 หลักสูตรของการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  1. การศึกษาเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ และกรอบสมรรถนะอาจารย์
  2. การออกแบหลักสูตรหรือรายวิชา
  3. การเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  4. Engaging students to learning
  5. การเรียนรู้เสริมด้วยเทคโนโลยี
  6. การเรียนรู้เชิงสะท้อนคิด
  7. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
  8. การกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
  9. การให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์
  10. การวิจัยในชั้นเรียน
  11. การประกันคุณภาพการศึกษา
  12. บทบาทและจิตวิญญาณความเป็นครู
  13. การเขียนแผนการสอนและการเตรียมการสอนแบบจุลภาค
  14. การปฏิบัติการสอนจุลภาค

 วิธีการจัดการอบรม

การบรรยาย / กิจกรรมกลุ่ม / การอภิปราย / การฝึกปฏิบัติ

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อาจารย์ใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา มีวิสัยทัศน์ แนวคิดใหม่และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุดมศึกษา
  2. อาจารย์ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของการเป็นอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษา
  3. อาจารย์ตระหนักถึงจิตวิญญาณความเป็นครู
  4. อาจารย์สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบ และออกแบบการเรียนการสอนได้
  5. อาจารย์สามารถจำแนกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
  6. อาจารย์สามารถออกแบบการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. อาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนและสร้างความร่วมมือต่อไปในอนาคต

 การประเมินผลโครงการ

แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม

 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ

  1. มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนประมาณ 50 คนตามเป้าหมาย
  2. ผลการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการอยู่ในเกณฑ์ดี
  3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของได้ตาม ความคาดหวัง

 

 

Other Websites

  • สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ปฏิทินกิจกรรม

Social Media

Contact Us

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคาร 2 ชั้น 19

เลขที่ 328 ถ. ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กทม 10400

โทรศัพท์: 02-039-5527
(ตามวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์มือถือ: 082-937-5337
แฟกซ์: 02-039-5647
Email: thailandpod@gmail.com


Map

Copyright © 2018  thailandpod. All rights reserved.